เทคนิคดูแลเครื่องปรับอากาศด้วยตัวเอง

เทคนิคดูแลเครื่องปรับอากาศด้วยตัวเอง ทุกส่วนของเครื่องปรับอากาศล้วนต้องการการดูแลเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ เทคนิคต่อไปนี้เป็นวิธีการดูแลและ ล้างแอร์บ้าน ในเบื้องต้นที่ทำได้ด้วยตนเอง เพื่อคงอากาศดีภายในบ้านของคุณในทุกๆ วัน เพื่อความปลอดภัยควรปิดสวิตช์หรือดึงเบรกเกอร์ลงทุกครั้งก่อนการถอดทำความสะอาดหรือการดูแลรักษาเครื่องปรับอากาศลักษณะใดก็ตาม ไม่ควรฉีดน้ำเข้าไปยังบริเวณอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในตัวเครื่อง และควรใช้บันใดที่แข็งแรงในการปีนถอดหรือใส่อุปกรณ์ หากไม่มีความชำนาญ แนะนำให้ล้างเฉพาะแผ่นกรองอากาศและพื้นผิวภายนอกเท่านั้น และเรียกใช้ บริการช่างแอร์ สำหรับล้างส่วนอื่นทุกๆ 6-12 เดือนเพื่อป้องกันความเสียหายของชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าภายใน หมั่นถอดล้างแผ่นกรองอากาศ แผ่นกรองอากาศหรือฟิลเตอร์แอร์ เป็นชิ้นส่วนสำคัญที่คอยทำหน้าที่ดักจับฝุ่นละอองในอากาศไม่ให้เข้าไปถึงคอยล์เย็น หากไม่ทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอจะเกิดการสะสมอุดตันของฝุ่นและสิ่งสกปรกต่างๆ ส่งผลให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักและไม่เย็นเท่าที่ควร หรืออาจทำให้มีน้ำแข็งเกาะที่คอยล์เย็น และมีน้ำหยดจากตัวเครื่อง ฟิลเตอร์มีลักษณะเป็นแผ่นตะแกรงที่มักทำจากใยสังเคราะห์และมีโครงเป็นพลาสติก อยู่ใต้บริเวณหน้ากากหรือฝาหน้าของแอร์ โดยเมื่อยกฝาหน้าของเครื่องขึ้นก็จะเจอกับฟิลเตอร์ทันที ทั้งนี้เครื่องปรับอากาศบางรุ่นอาจมีฟิลเตอร์ 2 ชนิด คือฟิลเตอร์แบบหยาบสำหรับกรองฝุ่นขนาดกลาง-ใหญ่ และฟิลเตอร์แบบละเอียดสำหรับกรองฝุ่นละอองขนาดเล็ก ซึ่งแบบหลังจะไม่สามารถถอดออกมาล้างได้และต้องแกะออกจากฟิลเตอร์หยาบก่อนล้างทุกครั้ง การถอดล้างฟิลเตอร์แบบหยาบมีขั้นตอนไม่ซับซ้อน ทำได้ดังนี้
- ถอดฟิลเตอร์ด้วยความระมัดระวังเพื่อป้องกันฝุ่นฟุ้งกระจาย
- ฉีดล้างด้วยน้ำแรงดันปานกลาง และอาจใช้น้ำสบู่พร้อมกับแปรงขนนุ่มขัดเบาๆ เพื่อกำจัดฝุ่น
- ตากให้แห้ง แล้วใส่กลับเข้าตามเดิม
ความถี่ใน การถอดล้างฟิลเตอร์ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ประเภทของฟิลเตอร์ ความถี่ในการเปิดใช้งาน หรือสภาพแวดล้อมทั้งในและนอกบ้าน โดยหากเป็นห้องที่อยู่ติดถนนหรือภายในบ้านมีฝุ่นเยอะ ควรถอดฟิลเตอร์ออกมาล้างอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง แต่หากฝุ่นไม่เยอะหรือไม่ได้ใช้งานบ่อยอาจถอดล้าง 3-4 ครั้งต่อปี
วิธีล้างแอร์ทำได้ด้วยตัวเองอย่างง่าย
อากาศเริ่มร้อนเกินไปหรือแอร์ไม่เย็นกันแน่ อย่าเพิ่งคิดว่าแอร์คุณเก่าและสมควรถูกปลดระวาง บางทีการล้างทำความสะอาดเสียบ้างอาจจะทำให้เครื่องปรับอากาศตัวเดิมของคุณกลับมาทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เปิดแป๊บเดียวก็เย็นฉ่ำไปทั่วห้อง แต่ถ้าใครกังวลว่าต้องเปลืองเงินจ้างช่างมาล้างเป็นเรื่องเป็นราว เรามีคำแนะนำง่ายๆ ให้คุณลองหัดล้างแอร์ด้วยตนเอง พร้อมแล้วเริ่มกันเลย เตรียมอุปกรณ์และพื้นที่ให้พร้อม ก่อนจะเริ่มลงมือ รวบรวมข้าวของที่ต้องใช้มาให้ครบก่อน ได้แก่ สายยางพร้อมหัวฉีด, ผ้ายางให้น้ำไหล, ถังไว้รองน้ำ, เทปกาวเพื่อติดผ้ายางไว้กับแอร์, น้ำยาล้างจานและฟองน้ำ, บันไดสำหรับปีน, ไขควง, และผ้าสะอาด เมื่อได้ของครบแล้วให้เคลียร์พื้นที่ใต้แอร์ของเราให้โล่ง และปิดสวิตช์ตรงเบรกเกอร์ให้เรียบร้อยเพื่อความปลอดภัย เริ่มต้น ล้างแอร์ การล้างแอร์ ไม่ยากเลย ทำได้ตามขั้นตอนดังนี้
- ให้คุณเปิดฝาหน้าเครื่องออกแล้วถอดฟิลเตอร์กรองอากาศไปล้าง
- จากนั้นขันสกรูตัวรับสัญญาณรีโมทออกจากหน้ากาก
- ขันสกรูค่อยๆ ถอดหน้ากากและฝาครอบกลางออก
- ขันสกรูถาดน้ำทิ้งออก ถอดมอร์เตอร์สวิงออก แล้วถอดถาดน้ำทิ้งออกมาล้างตามลำดับ
- ถอดแผ่นกระจายลมออก ตอนนี้เราจะเห็นวงจรไฟฟ้าอยู่ ให้หาพลาสติกปิดไว้ไม่ให้โดนน้ำ
นำผ้ายางที่เตรียมไว้ติดเข้ากับเครื่องเพื่อให้น้ำที่เราฉีดล้างไหลลงมายังถังที่เตรียมไว้ ฉีดน้ำล้างแผงคอยล์ให้สะอาด อย่าให้โดนวงจรไฟฟ้า จากนั้นน้ำชิ้นส่วนต่างๆ ที่เราถอดออกมาไปทำความสะอาดให้เรียบร้อย หาเครื่องเปล่าลมใส่คอยล์หรือทิ้งไว้ให้แห้ง ประกอบชิ้นส่วนกลับเข้าที่ตามลำดับ ระหว่างที่รอให้คอยล์เย็นแห้งสนิท นำสายยางไปฉีดทำความสะอาดคอยล์ร้อนด้านนอกบ้านด้วย (ไม่ต้องถอดชิ้นส่วน) เมื่อชิ้นส่วนแห้งดีแล้วให้ทดลองเปิดแอร์ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที การล้างแอร์ ด้วยตนเองอาจฟังดูยุ่งยาก แต่เชื่อเราเถอะว่าถ้าลองทำจริงๆ แล้วมีขั้นตอนไม่ซับซ้อนเลย จุดสำคัญคืออย่าให้น้ำกระเด็นโดนแผงวงจรซึ่งอาจจะทำให้เครื่องเสียหายได้ นอกจากนี้อาจจะใช้โฟมสำหรับล้างแอร์หรือน้ำยาทำความสะอาดร่วมด้วยก็ได้ โดยปกติแล้วเราควรล้างแอร์เฉลี่ยทุก 6 เดือนเพื่อประสิทธิภาพการทำงานและเป็นการยืดอายุของแอร์ไปในตัวด้วย ชาว JNB Air Service ที่อยากลองทำอะไรเองก็นำวิธีการนี้ไปใช้ได้เลย ไม่ต้องง้อให้ช่างมาช่วยและประหยัดเงินไปได้หลายร้อยเลยทีเดียว
ใส่ใจดูแลรักษาแอร์อย่างสม่ำเสมอ
เครื่องปรับอากาศ หรือแอร์ ก็เหมือนกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ที่มีวันเสื่อมสภาพตามการใช้งาน ยิ่งช่วงไหนอากาศร้อนเปิดแอร์ทั้งวันตัวเครื่องก็ยิ่งต้องทำงานหนัก หากไม่ใส่ใจดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ สิ่งที่ตามมาคงหนีไม่พ้นสารพัดปัญหาน่าปวดหัว ทั้งแอร์ไม่เย็น แอร์กินไฟ หรือแอร์น้ำหยด แทนที่จะรอให้ปัญหาเหล่านี้มากวนใจในวันที่ร้อนอบอ้าว มี เทคนิคดูแลรักษาเครื่องปรับอากาศ ง่ายๆ ไม่ง้อช่าง สำหรับเป็นแนวทางในการถนอมและยืดอายุการใช้งาน ช่วยประหยัดค่าไฟไปด้วยในตัว หากใช้คู่กับเครื่องฟอกอากาศยิ่งทำให้คุณภาพอากาศดียิ่งขึ้นไปอีก JNB Air Service ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจการทำงานและส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศคร่าวๆ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นว่าแต่ละส่วนทำงานอย่างไร ระบบการทำงานของเครื่องปรับอากาศส่วนมากประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ ได้แก่ ส่วนที่อยู่ภายในอาคาร เรียกว่าชุดคอยล์เย็น หรือแฟนคอยล์ยูนิต (Fan coil unit) มีหน้าที่ส่งอากาศเย็นเข้าสู่ภายในอาคาร ประกอบด้วยคอยล์เย็น ใบพัดลมคอยล์เย็น มอเตอร์พัดลม และแผ่นกรองอากาศ ส่วนที่อยู่ภายนอกอาคาร เรียกว่าชุดคอยล์ร้อน หรือคอนเดนซิ่งยูนิต (Condensing unit) หรือที่มักเรียกกันว่าคอมแอร์ ทำหน้าที่ช่วยระบายความร้อนจากเครื่องปรับอากาศออกสู่ภายนอก ประกอบด้วยคอนเดนเซอร์ คอมเพรสเซอร์ พัดลมคอยล์ร้อน มอเตอร์ และแผงไฟฟ้า ทั้งสองส่วนนี้เชื่อมต่อกันด้วยท่อทองแดงและสายไฟ โดยชุดคอยล์เย็นจะช่วยดูดซับความร้อนภายในห้องและระบายออกทางชุดคอยล์ร้อน จากนั้นอากาศเย็นที่เกิดจากน้ำยาแอร์ที่ผ่านการลดอุณหภูมิและลดความดันด้วยคอมเพรสเซอร์ก็กลายเป็นลมแอร์เย็นเป่าเข้ามาในห้อง การเลือกขนาด BTU ของแอร์ให้เหมาะสมกับพื้นที่ของห้อง จะช่วยให้แอร์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ไม่สิ้นเปลืองพลังงาน และประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถดูวิธีการเลือก BTU ให้กับห้องของคุณได้ที่ JNB Air Service
ล้างแอร์แหลมฉบัง, ล้างแอร์ชลบุรี, ล้างแอร์ อันดับ 1 ชลบุรี, ล้างแอร์ระยอง, ล้างแอร์ ชลบุรี ศรีราชา, ล้างแอร์ ศรีราชา, ล้างซ่อมติดตั้งแอร์โรงงาน ชลบุรี, ล้างซ่อมติดตั้ง
